Fine Art Burapha University

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้มีกระบวนการและระบบที่สามารถตรวจสอบ ติดตาม เพื่อการประเมินและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้กำหนดให้ใช้การตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE : AUN-QA ในระดับหลักสูตร และการประกันคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศปี 2558-2561 (Educational Criteria for Performance Excellence : EdPex) ในระดับหน่วยงาน

รายนามคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ประธานกรรมการ
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษารองประธานกรรมการ
รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผนกรรมการ
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษากรรมการ
รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและวิเทศสัมพันธ์กรรมการ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษากรรมการ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรกรรมการ
ประธานสาขาวิชาจิตรกรรมกรรมการ
ประธานสาขาวิชากราฟิกอาร์ตและกราฟิกมีเดียกรรมการ
ประธานสาขาวิชาออกแบบเซรามิกส์กรรมการ
ประธานสาขาวิชานิเทศศิลป์กรรมการ
 
นายจำนงค์ ธนาวนิชกุลกรรมการ
นางสาววีณา ศรีสวัสดิ์กรรมการ
นายนพดล ใจเจริญกรรมการ
นายมนตรี จำนงสิริศักดิ์กรรมการ
นายพงศ์พัฒน์ เจริญวารีกรรมการ
นายจุลเดช ธรรมวงษ์กรรมการ
นางสาวณิชาพัฒน์ เนื่องจำนงค์กรรมการ
นางสาวนัชพร อิ่มกมลกรรมการและเลขานุการ

การประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบ AUN-QA
(ข้อมูลเบื้องต้นทั่วไปเกี่ยวกับการประกับคุณภาพภายในและภายนอก AUN-QA)

การตรวจประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบของ AUN-QA นั้น มาจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน หรือASEAN University Network – AUN โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลักการสำคัญของ AUN-QA น้ันได้แก่การมุ่งเน้นให้เกิดการจัดการศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การ เรียนรู้หรือ Outcome-Based Learning กล่าวคือมุ่งเน้นการพิจารณาการออกแบบผลลัพธ์จากการเรียนรู้และการออกแบบกระบวนการต่างๆเพื่อมุ่งสู่ผลลัพธ์ดังกล่าวอย่างเป็นระบบ

AUN-QA มุ่งเน้นการเช่ือมโยงและสอดคล้องกันระหว่างการออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของผู้เรียนกับการออกแบบรูปแบบการจัดการเรียน และการมีการประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม ถูกต้อง และเป็นธรรม โดยมุ่งเน้นการทำงานที่เป็นระบบ PDCA สามารถตรวจสอบ ประเมิน และพัฒนาได้

ในการประเมินจะมีค่าคะแนนทั้งหมด 7 ระดับ ซึ่งรายละเอียดของค่าคะแนนแต่ละระดับจะมีดังต่อไปนี้

  • 1 หมายถึง หลักสูตรยังไม่มีการดาเนินการใดๆในเรื่องนั้นเลย (ไม่มีเอกสาร แผนงาน หรือหลักฐานการ ดาเนินการใดๆ)
  • 2 หมายถึง หลักสูตรยังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนเพื่อดาเนินการเรื่องนั้นๆ
  • 3 หมายถึง หลักสูตรมีเอกสารเกี่ยวกับการดาเนินการน้ัน แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ดาเนินการจริง หรือไม่ได้ปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง
  • 4 หมายถึง หลักสูตรมีเอกสารเกี่ยวกับการดาเนินการนั้นและมีหลักฐานชัดเจนว่าได้ดาเนินการจริง
  • 5 หมายถึง หลักสูตรมีหลักฐานชัดเจนว่าได้ดาเนินการเร่ืองน้ันๆอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 6 หมายถึง หลักสูตรได้แสดงให้เห็นว่าเป็นตัวอย่างของการดาเนินการท่ีดีหรือเป็นต้นแบบในด้านน้ันๆ
  • 7 หมายถึง หลักสูตรได้แสดงให้เห็นว่าเป็นเลิศในการดาเนินการด้านน้ันๆ ในระดับนานาชาติหรือระดับโลก

โดยรูปแบบการประเมินจะประกอบไปด้วยเกณฑ์พิจารณาทั้งหมด 11 ข้อ คือ

  • 1. ExpectedLearningOutcomesหมายถึงผลการเรียนรู้ท่ีคาดหวัง
  • 2. Programme Specification หมายถึง ข้อกาหนดของหลักสูตร
  • 3. Programme Structure and Content หมายถึง โครงสร้างและเน้ือหาของหลักสูตร
  • 4. Teaching and Learning Strategy หมายถึง กลยุทธ์การเรียนการสอน
  • 5. Student Assessment หมายถึง การประเมินผู้เรียน
  • 6. Academic Staff Quality หมายถึง คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
  • 7. Support Staff Quality หมายถึง คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
  • 8. Student Quality and Support หมายถึง คุณภาพผู้เรียนและการสนับสนุนผู้เรียน
  • 9. Facilities and Infrastructure หมายถึง สิ่งอานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
  • 10. Quality Enhancement หมายถึง การพัฒนาคุณภาพ
  • 11. Output หมายถึง ผลผลิต
การประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx)
(ข้อมูลเบื้องต้นทั่วไปเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ Edpex)

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx) เป็นเกณฑ์ที่ปรับมาจากแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA)  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินระบบการบริหารที่ครอบคลุมทุกพันธกิจของสถาบันการศึกษา ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีผลการดำเนินการที่ดี มีการพัฒนา ส่งเสริมการมุ่งสู่การดำเนินที่เป็นเลิศในระดับสากล ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ และมีการนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ซึ่งเกณฑ์นี้ จะมีค่านิยมและแนวคิดหลักของเกณฑ์นี้ มีทั้งหมด 11 ประการ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • มุมมองเชิงระบบ (Systems perspective)
  • การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary leadership)
  • ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (Customer-focuse excellence)
  • การให้ความสำคัญกับบุคลากร (Valuing people)
  • การเรียนรู้ระดับองค์กรและความคล่องตัว (Organizational learning and agility)
  • การมุ่งเน้นความสาเร็จ (Focus on success)
  • การจัดการเพื่อนวัตกรรม (Managing for innovation)
  • การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (Management by fact)
  • การทำประโยชน์ให้สังคม (Societal contributions)
  • จริยธรรมและความโปร่งใส (Ethics and transparency)
  • การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์ (Delivering value and results)

เกณฑ์์ EdPEx เป็นชุดของคำถามเกี่ยวกับเรื่องสำคัญ 7 ด้านในการบริหารและดำเนินของสถาบัน ได้แก่
1) การนำองค์กร
2) กลยุทธ์
3) ลูกค้า
4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
5) บุคลากร
6) การปฏิบัติการ
7) ผลลัพธ์

โดยมีคะแนนแบ่งออกเป็น

  • หมวด 1 การนำองค์กร (Leadership) 110 คะแนน
  • หมวด 2 กลยุทธ์ (Strategy) 95 คะแนน
  • หมวด 3 ลูกค้า (Customers) 95 คะแนน
  • หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement, Analysis, and Knowledge Management) 100 คะแนน
  • หมวด 5 บุคลากร (Workforce) 100 คะแนน
  • หมวด 6 การปฏิบัติการ (Operations) 100 คะแนน
  • หมวด 7 ผลลัพธ์ (Results) 400 คะแนน

รวมเป็น 1,000 คะแนน

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ที่ คลิก

อ้างอิงข้อมูล

  • เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561
  • เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2563 – 2564

รายชื่อผู้ตรวจประเมินคุณภาพระดับคณะ
(https://drive.google.com/drive/folders/14J6gV3GLPLrJE61UMQYyGbvwAOz3PcZP?usp=sharing)

รายชื่อผู้ตรวจประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร (Desktop)(https://drive.google.com/drive/folders/1WE-aSWOSajL5UJ4rl8TOo1T-vH_fDbKr?usp=sharing)

รายชื่อผู้ตรวจประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร (Full Assessment)(https://drive.google.com/drive/folders/1RSuIt9gjkYt-kBKYcmVgSTOOkRGDOlFx?usp=sharing)

รายงานการประเมินตนเอง Self-Assessment Report (SAR) ระดับหลักสูตรคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เปิดการจัดการเรียนการสอนออกเป็นทั้ง 9 หลักสูตร และแบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร ระดับบปริญญาโท 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ได้ใช้การประเมินคุณภาพการศึกษาในรูปแบบ AUN-QA

รายงานผลการดำเนินงานระดับหน่วยงานด้วยเกณฑ์ EdPEx
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาได้ใช้การประเมินด้วยเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx